
สถานการณ์การแพร่ระบาดของสายพันธุ์ Omicron แพร่เชื้อง่ายและติดง่าย กลุ่มที่มีความเสี่ยงมากที่สุดคือ เด็กที่ยังไม่ได้ฉีดวัคซีน COVID-19 การติดเชื้อ COVID-19 ในเด็ก แม้จะมีอาการไม่รุนแรงจนถึงขั้นเสียชีวิต แต่สิ่งที่น่ากังวล คืออาการระยะภายหลังหายจากโรค ไม่ว่าจะเป็นเรื่อง Long COVID-19 หรือ กลุ่มอาการอักเสบหลายระบบในเด็ก (MIS-C) เป็นกลุ่มอาการที่เกิดขึ้นในเด็ก หลังจากการติดเชื้อโควิด 19 อาจมีอาการรุนแรงในหลายระบบของร่างกาย และอาจมีภาวะแทรกซ้อนทำให้เสียชีวิตได้ การเตรียมตัวสำหรับการฉีดวัคซีน COVID-19
- พูดคุยกับเด็กก่อนรับการฉีดวัคซีนเกี่ยวกับถึงความเสี่ยง และประโยชน์ของวัคซีน
- ไม่แนะนำให้รับประทานยาแก้ปวดก่อนฉีดวัคซีน
- แจ้งให้แพทย์หรือพยาบาลทราบเกี่ยวกับการแพ้
- หลังจากฉีดวัคซีน COVID-19 เด็กต้องสังเกตอาการอาการต่อเป็นเวลา 30 นาที
- สำหรับเด็กอายุ 5 ถึง < 12 ปี ฉีดวัคซีนป้องกันโรค COVID-19 ชนิด mRNA ของ Pfizer-BioNTech ขนาด 10 ไมโครกรัม (0.2 มล.) ฉีด เข้ากล้ามเนื้อ 2 เข็มห่างกันอย่างน้อย 3 สัปดาห์
- สำหรับเด็กและวัยรุ่นชายที่แข็งแรงดีอายุตั้งแต่ 12 ปี ถึงน้อยกว่า 16 ปี ฉีดวัคซีนป้องกันโรค COVID-19 ชนิด mRNA ของ Pfizer-BioNTech ขนาด 30 ไมโครกรัม (0.3 มล.) ฉีด เข้ากล้ามเนื้อ 2 เข็ม ระยะห่าง 3-12 สัปดาห์
- สำหรับเด็กที่เคยมีการติดโรคโควิด-19 มาแล้ว แนะนำให้ฉีดวัคซีนป้องกันโรคโควิด-19 เพียง 1 เข็ม ขนาดของยาตามกลุ่มอายุ โดยเว้นระยะเวลาอย่างน้อย12 สัปดาห์แเมื่อหายดีจากโรค COVID-19
- สำหรับผู้ป่วยเด็กและวัยรุ่นอายุตั้งแต่ 5 ปีขึ้นไปที่เคยได้รับวัคซีนป้องกันโรค COVID-19 ชนิดเชื้อตาย ไม่ว่าจะเป็น Sinovac หรือ Sinopharm ครบแล้ว 2 เข็ม แนะนำให้ฉีดวัคซีนป้องกันโรค COVID-19 ชนิด mRNA ที่ได้รับการรับรองตามช่วงอายุอีก 1 เข็ม โดยเว้นระยะห่างอย่างน้อย 4 สัปดาห์ภายหลัง การฉีดวัคซีนครบ 2 เข็ม
อายุ | ชนิดวัคซีน | ขนาด | ตำแหน่งทีฉีด | จำนวนครั้ง/ ระยะห่าง |
12 – <18 ปี | Pfizer-BioNTech | 30 ไมโครกรัม | กล้ามเนื้อ | 2 ครั้งห่างกัน |
(0.3 มล.) | (ต้นแขน) | 3-12 สัปดาห์ | ||
5 – <12 ปี | Pfizer-BioNTech | 11 ไมโครกรัม | กล้ามเนื้อ | 2 ครั้งห่างกัน |
(0.2 มล.) | (ต้นแขน) | 3-12 สัปดาห์ | ||
เด็กที่ติดCOVID-19 | Pfizer-BioNTech | ตามกลุ่มอายุ | กล้ามเนื้อ | 1 ครั้ง 12 สัปดาห์ |
(ต้นแขน) | หลังการติดเชื้อ COVID-19 |
อาการข้างเคียงของ Pfizer-BioNTech COVID-19
ปวดบริเวณที่ฉีด, ปวดตามข้อ, ไข้ , หนาวสั่น, คลื่นไส้
ปวดเมื่อยตามตัว, ปวดศีรษะ, เจ็บกล้ามเนื้อ, ต่อมน้ำเหลืองโต
การฉีดวัคซีนจะช่วยให้เด็ก ๆ ปลอดภัยมากขึ้น ในขณะที่ไปโรงเรียน และการใช้ชีวิตนอกบ้านกับครอบครัว เพื่อลดการมีแนวโน้มป่วยหนัก ผู้ปกครองยังคงต้องช่วยกัน ส่งเสริมให้เด็ก ๆ ปฏิบัติตามมาตรการป้องกันโรคCOVID-19 ป้องกันตนเอง สวมหน้ากากอนามัยและดูแลสุขภาพให้แข็งแรง รวมทั้งฉีดวัคซีนโรคทางระบบทางเดินหายใจอื่น ๆ เพื่อช่วยลดผลข้างเคียงในกรณีติดเชื้อ COVID-19
แหล่งข้อมูลอ้างอิง
- Why Children and Teens Should Get Vaccinated for COVID-19 , CDC , https://www.cdc.gov/coronavirus/2019-ncov/vaccines/recommendations/children-teens.html สืบคนข้อมูล 15 มค.65
- COVID-19 vaccines for kids: What you need to know , Mayo Clinic Staff, https://www.mayoclinic.org/diseases-conditions/coronavirus/in-depth/covid-19-vaccines-for-kids/art-20513332#what-side-effects สืบคนข้อมูล 15 มค.65
- คำแนะนำการฉีดวัคซีนป้องกันโรคโควิด-19 สำหรับเด็กและวัยรุ่นอายุตั้งแต่ 12 ปีขึ้นไป , ศูนย์การแพทย์กาญจนาภิเษก มหาวิทยาลัยมหิดล , https://www.gj.mahidol.ac.th/main/paediatric-knowledge/covid-child-advice/ สืบคนข้อมูล 15 มค.65
- คำแนะนำการฉีดวัคซีนป้องกันโรคโควิด-19 สำหรับเด็ก และวัยรุ่น (ฉบับที่ 4) ,ราชวิทยาลัยกุมารแพทย์แห่งประเทศไทย และ สมาคมกุมารแพทย์แห่งประเทศไทย ,https://www.thaipediatrics.org/pages/Doctor/Detail/46/398 สืบคนข้อมูล 15 มค.65