การระบาดของไวรัสโคโรนา 2019 COVID-19ประเทศไทยก็เป็นหนึ่งในพื้นที่เสี่ยงที่มีผู้ติดเชื้อทั้งชาวไทยและชาวต่างชาติ อีกทั้งยังมีการระบาดภายในประเทศ ซึ่งอาการที่จากติดเชื้อ COVID-19 มีความคล้ายกับโรคไข้หวัดใหญ่ ทำให้ผู้ป่วยอาจเกิดความวิตกกังวล วิธีสังเกตอาการทั้ง 2โรคแสดงตามตารางดังนี้
อาการ | โควิด- 19 | ไข้หวัดใหญ่ |
เชื้อที่ก่อให้เกิดโรค | ไวรัสกลุ่มโคโรนา(corona virus) | ไวรัสกลุ่มอินฟลูเอนซา(Influenza virus) |
การติดต่อ | สัมผัสสารคัดหลั่ง (น้ำมูก น้ำลาย หรือเสมหะ) | |
ไข้ | ไข้มากกว่า 37.5 องศาเซลเซียส | |
ประสาทการรับ รส-กลิ่น | สูญเสียการรับรสชาติ รับกลิ่น | ไม่มีความเปลี่ยนแปลง |
เจ็บคอ ไอ มีน้ำมูก | มีอาการไอ เจ็บคอ คอแดง คัดจมูก น้ำมูกไหล | |
ระบบทางเดินหายใจ | หอบเหนื่อย หายใจลำบาก | ไม่มีอาการหอบเหนื่อย |
ระบบกล้ามเนื้อ | ปวดเมื่อยตามร่างกาย ไม่มีแรง ปวดศีรษะ | |
ระบบทางเดินอาหาร | ท้องเสีย คลื่นไส้ อาเจียน เบื่ออาหาร | |
วัคซีน | อยู่ระหว่างการทดลอง | มีวัคซีนช่วยเพิ่มภูมิคุ้มกัน |
ดังนั้นควรสังเกตอาการตัวเองอย่างต่อเนื่อง หากเริ่มมีอาการควรไปพบแพทย์เพื่อรับการตรวจที่ชัดเจน การป้องกันที่ดีที่สุดของทั้ง2โรคคือ ล้างมือบ่อยๆ ไม่เอามือไปสัมผัสบริเวณหน้า หลีกเลี่ยงพื้นที่ที่มีคนแออัดหลีกเลี่ยงการสัมผัสใกล้ชิดกับผู้ป่วยในช่วงที่มีการระบาด เว้นระยะห่าง (Social Distancing) เมื่ออยู่ในที่ชุมชนอย่างน้อย 2 เมตร
การฉีดวัคซีนไข้หวัดใหญ่เป็นประจำทุกปีจึงเป็นการกระตุ้นให้ระบบภูมิคุ้มกันต่อไข้หวัดใหญ่ให้มีระดับที่สูงสำหรับรับมือกับเชื้อที่จะเข้ามาสู่ร่างกาย รวมถึงเชื้อไข้หวัดใหญ่มักมีการกลายพันธุ์ได้ในช่วงระยะเวลาไม่นาน วัคซีนที่ฉีดทุกปีจะมีองค์ประกอบของเชื้อที่อยู่ในวัคซีนซึ่งปรับเปลี่ยนไปตามฤดูกาลปัจจุบัน ดังนั้นการฉีดวัคซีนทุกปีจึงช่วยให้ภูมิคุ้มกันต่อไข้หวัดใหญ่ได้มีการปรับให้เหมาะสมกับเชื้อที่มาใหม่แต่ละปี
กระทรวงสาธารณสุข มีการรณรงค์ฉีดวัคซีนป้องกันโรคไข้หวัดใหญ่ โดยเน้นประชาชน 7 กลุ่มเสี่ยง เพื่อลดการป่วย ลดความรุนแรง ลดการเสียชีวิตจากไข้หวัดใหญ่ ในช่วงสถานการณ์โควิด 19 ประชาชน 7 กลุ่มเสี่ยง ได้แก่
1.หญิงตั้งครรภ์อายุครรภ์ 4 เดือนขึ้นไป
2.เด็กอายุ 6 เดือนถึง 2 ปี
3.ผู้มีโรคเรื้อรัง ได้แก่ ปอดอุดกั้นเรื้อรัง หอบหืด หัวใจ หลอดเลือดสมอง ไตวาย ผู้ป่วยมะเร็งที่อยู่ระหว่างได้รับเคมีบำบัด และเบาหวาน
4.บุคคลอายุ 65 ปีขึ้นไป
5.ผู้พิการทางสมองที่ช่วยเหลือตัวเองไม่ได้
6.โรคธาลัสซีเมียและผู้ที่มีภูมิคุ้มกันบกพร่อง (รวมผู้ติดเชื้อ HIV ที่มีอาการ)
7.ผู้ที่เป็นโรคอ้วนน้ำหนักมากกว่า 100 กิโลกรัม หรือ ดัชนีมวลกาย (BMI) มากกว่า 35 กิโลกรัมต่อตารางเมตร (kg/m2)
แหล่งข้อมูล
1.วัคซีนไข้หวัดใหญ่….เรื่องที่ควรรู้,คลังความรู้สุขภาพกระทรวงสาธารณสุข
http://healthydee.moph.go.th/view_article.php?id=605 สืบค้นข้อมูล 12/5/20
2.กรมควบคุมโรค แนะประชาชนยึดหลัก “ปิด ล้าง เลี่ยง หยุด” ป้องกันโรคไข้หวัดใหญ่ทุกสายพันธุ์,กองควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข https://ddc.moph.go.th/brc/news.php?news=11047&deptcode=brc&news_views=428
สืบค้นข้อมูล 11/5/20
3. ข้อแนะนำเรื่องอาการสูญเสียการได้กลิ่นในผู้ป่วยในผู้ป่วยโรคติดชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19),ราชวิทยาลัยโสต ศอ นาสิกแพทย์แห่งประเทศไทย https://tmc.or.th/covid19/download/pdf/tmc_covid19-rcot03-090463.pdf สืบค้นข้อมูล 28/5/20
4.Coronavirus Disease 2019 vs. the Flu, Johns Hopkins Medicine
https://www.hopkinsmedicine.org/health/conditions-and-diseases/coronavirus/coronavirus-disease-2019-vs-the-fluสืบค้นข้อมูล 11/5/20
5. Clinical Characteristics of Coronavirus Disease 2019 in China,The New England Journal of Medicine https://www.nejm.org/doi/full/10.1056/NEJMoa2002032 สืบค้นข้อมูล 27/5/20